วิตามินเค

Vitamin K

วิตามินเค

DHC Vitamin K

 

โปรโมชันพิเศษ

จากราคาเต็ม 670 เหลือ 460 บาท

1 ซองบรรจุ 150 เม็ด รับประทานได้ 1 เดือน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิตามินเค

 

วิตามินเค (Vitamin K) คือวิตามินชนิดละลายในไขมัน มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า เมนาไดโอน วิตามินเคแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ วิตามินเค 1 (ฟิลโลควิโนน) วิตามินเค 2 (เมนาควิโนน) และวิตามินเค 3 (ไดไฮโดรฟิลโลควิโนน)

 

วิตามินเค 1 มักพบในผักใบเขียว วิตามินเค 2 ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองโดยกลุ่มแบคทีเรียโพรไบโอติกที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ และวิตามินเค 3 เป็นวิตามินชนิดสังเคราะห์

 

ปริมาณวิตามินเคที่แนะนำต่อวัน

 

ในหนึ่งวันแนะนำรับประทานวิตามินเอ 65 – 80 ไมโครกรัม

 

ประโยชน์ของวิตามินเค

 

  • วิตามินเคมีหน้าที่สำคัญในการสรา้งโพรทรอมบิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว ป้องกันปัญหาเลือดออกภายในและเลือดไหลไม่หยุด ช่วยในการสร้างลิ่มเลือด
  • แก้ปัญหาในผู้หญิงที่ประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • ช่วยป้องกันปัญหาเกราะดูกเปราะบาง โรคกระดูกพรุน

 

โรคและอาการขาดวิตามินเค

 

  • เลือดหยุดไหลช้า แข็งตัวช้า
  • โรคลำไส้อักเสบซีลิแอก และโรคลำไส้อักเสบชนิดอื่นๆ
  • โรคบิดสปรู

 

แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบวิตามินเค

 

วิตามินเคพบปริมาณมากในอาหารประเภทน้ำมันตับปลา ผักใบเขียว สาหร่ายเคลป์ น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง ไข่แดง โยเกิร์ต และอัลฟัลฟ่า

 

ประเภทอาหารเสริมวิตามินเค

 

โดยส่วนใหญ่จะจำหน่ายเป็นชนิดเม็ดแยกในปริมาณ 100 ไมโครกรัม หรือรวมอยู่ในอาหารเสริมวิตามินรวม

 

การรับประทานวิตามินเคเกินปริมาณ

 

แม้ว่าวิตามินเคจะไม่ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย แต่ก็ไม่ควรรับประทานวิตามินเคสังเคราะห์เกินวันละ 500 ไมโครกรัมจะเกิดผลเสียกับร่างกายได้

 

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • วิตามินเคจะไม่ถูกกับยาแอสไพริน มลภาวะในอากาศ น้ำมันแร่ธรรมชาติ การแปรรูปเป็นอาหารแช่แข็ง และการเอกซเรย์และการฉายรังสี
  • การรับประทานวิตามินอีในปริมาณเข้มข้นสูงเกินปริมาณอาจส่งผลเสียต่อการดูดซึมวิตามินเคได้
  • ผู้ที่ท้องร่วงอย่างรุนแรง อาจะเป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังขาดวิตามินเค ควรปรึกษาแพทย์และเลือกรับประทานผักใบเขียวเสริมให้ต่อเนื่องเป็นประจำก่อน แล้วจึงเลือกรับประทานอาหารเสริมวิตามินค

 

ผู้ใดควรรับประทานวิตามินเคเสริม

 

  • ผู้ที่เป็นโรคตับ เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร จะมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเค
  • ในผู้ที่มีเลือดกำเดาไหลบ่อย มีปัญหาเส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย แนะนำรับประทานเสริมด้วยวิตามินเค
  • ในผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูง ไขมันสูง และกำลังรักษาด้วยยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอยู่ จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดวิตามินเคได้
  • ในผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างอย่างต่อเนื่องจะมีความเสี่ยงสูงในการขาดวิตามินเค

 

หมายเหตุ

 

  • ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรรับประทานวิตามินเคเสริมเนื่องจากอาจมีฤทธิ์หักล้างกัน

รถเข็น

วิตามินวิลล่า

ชนิดอาหารเสริม

แบ่งตามเพศและวัย

แบ่งตามเพศและวัย

แบ่งตามปัญหาสุขภาพ

แบ่งตามสารอาหารหลัก

Share This