อาหารเสริมเซราไมด์
Ceramide Supplement
เซราไมด์
DHC Ceramide
อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของเซราไมด์
งาดำ+วิตามินความงาม16ชนิด
DHC Sesame+Beauty
นาเมะรากะ รวมวิตามินบำรุงผิว
DHC Nameraka
เคลียร์แอคเน่ สูตรลดสิว
DHC Clear Acne
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเซราไมด์
เซราไมด์ (Ceramide) คือสารธรรมชาติชนิดหนึ่งในกลุ่มไขมันที่ทำหน้าที่สำคัญในการเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ผิวจากภัยอันตรายภายนอกที่มากระทบกับผิว เป็นเหมือนปราการด่านหน้าของผิว โดยเซราไมด์จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของผิว และรวมถึงป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคแบคทีเรีย และยังช่วยควบคุมสมดุลอุณหภูมิของร่างกายเอาไว้
เซราไมด์จะพบในส่วนของชั้นหนังกำพร้าซึ่งเป็นผิวหนังชั้นบนสุด โดยจะอยู่ติดกับเคราตินของผิวเพื่อช่วยให้ยึดให้เคราตินมีการจัดเรียงตัวที่ดี เมื่อเคราตินเรียงตัวกันสวยงามเป็นระเบียบ ผิวพรรณก็จะดูดี เพราะเคราตินเปรียบเสมือนกำแพงที่เก็บกักรักษาน้ำในผิวเอาไว้นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ในวงการความงาม เซราไมด์มีบทบาทสำคัญและขึ้นชื่อที่สุดในคุณสมบัติการรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวป้องกันผิวแห้งเสีย ในผู้ที่ขาดเซราไมด์จะทำให้ผิวแห้งแตกง่าย และเกิดริ้วรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นได้ง่ายขึ้น และรองลงมายังมีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิวขาว ลดจุดด่างดำ โดยจะทำหน้าที่ในการยับยั้งการสร้างเมลานินซึ่งเป็นเม็ดสีผิวที่เป็นสาเหตุให้เกิดจุดด่างดำฝ้ากระบนผิวของเรานั่นเอง
โดยสรุป เซราไมด์จึงทำหน้าที่ทั้งในการเป็นมอยเจอไรเซอร์ (Moisturizer) และไวท์เทนนิ่ง (Whitenning) ที่มีประสิทธิภาพโดยทำหน้าที่สร้างพื้นฐานของผิวที่ดีจากภายในสู่ภายนอก
ปริมาณเซราไมด์ที่แนะนำต่อวัน
แนะนำรับประทานเซราไมด์เสริมในรูปแบบเม็ดปริมาณ 2-4 มิลลิกรัมต่อวัน
ประโยชน์ของเซราไมด์
- รักษาความชุ่มชื้นของผิว ป้องกันการสูญเสียน้ำ ช่วยไม่ให้ผิวแห้งเสีย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว ช่วยเรียงเคราตินที่เซลล์ผิวให้ดีและทำงานได้มีประสิทธิภาพ
- บำรุงช่วยให้ผิวขาวขึ้น ลดริ้วรอย ฝ้ากระและจุดด่างดำ โดยเซราไมด์จะมีส่วนช่วยในการลดการผลิตเม็ดสีผิวไม่ให้เกิดจุดดำที่ผิว และไม่ให้สีผิวคล้ำเสียได้ง่าย
- บำรุงสุขภาพผิวพื้นฐานให้แข็งแรง เป็นส่วนประกอบสำคัญในเยื่อหุ้มเซลล์ผิว ป้องกันอันตรายที่เกิดกับผิว ป้องกันการติดเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ
- เซราไมด์มีการนำไปใช้บำบัดผู้ที่เป็นโรคทางผิวหนังบางชนิด โดยทำหน้าที่ป้องกันอาการติดเชื้อทางผิวหนัง และช่วยบรรเทาอาการโรคผิวหนังบางประเภท เช่น โรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นผิวหนัง โรคติดเชื้อทางผิวหนังต่างๆ เป็นต้น โดยจากการวิจัยได้พบว่าในผู้ป่วยโรคผิวหนังกลุ่มเหล่านี้ ถูกตรวจพบว่ามีระดับของเซราไมด์ในบริเวณผิวหนังที่น้อยกว่าที่ควร และมีการนำเซราไมด์ไปใช้ในการบำบัดผู้ที่เป็นโรคผิวหนังกลุ่มเหล่านี้ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการขาดเซราไมด์
ในผู้ที่ขาดเซราไมด์ เราจะสังเกตตัวเองได้ดังนี้
- ผิวแห้งเสีย ผิวลอก ผิวแตกง่าย ต้องทาโลชันบ่อยๆ
- เมื่ออยู่ในที่ที่มีอากาศหนาวหรือห้องแอร์ ผิวจะแห้งมาก
- ผิวแพ้ง่ายกว่าคนอื่น มีผื่นแพ้ที่ผิวหนังเป็นประจำ ทาอะไรหน่อยก็ขึ้นผื่น ใช้เครื่องสำอางค์ครีมบำรุงต่างๆไม่ค่อยได้
- ผิวเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นรอยตีนกาเร็วกว่าวัย ริ้วรอยใต้ตาขึ้นเยอะ ผิวหนังดูไม่ยืดหยุ่น ขาดความกระชับ
- หลังจากเข้าห้องน้ำชำระตัวแล้วรู้สึกผิวแห้งตึง
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อทางผิวหนัง และโรคผิวหนังหลายประเภท
สาเหตุของการสูญเสียเซราไมด์
การขาดเซราไมด์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่
- ร่างกายผลิตเซราไมด์ได้ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเราอายุมากขึ้นประสิทธิภาพการทำงานของต่อมต่างๆลดลง ฮอร์โมนเริ่มเสียสมดุล ระบบร่างกายทำงานได้แย่ลง จึงส่งผลให้การผลิตเซราไมด์ลดลงด้วยนั่นเอง
- มลภาวะและความเครียดเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การผลิตเซราไมด์ไม่เพียงพอต่อการรักษาเซลล์ผิว ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีภายนอกทั้งสารเคมีปนเปื้อนที่เรารับประทานเข้าไป สารเคมีที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม รวมทั้งแสงแดด แสงยูวี แสงจอคอม ล้วนกระทบให้เซลล์ผิวเรารับภาระหนักขึ้น อีกทั้งความเครียดยังทำให้ระบบฮอร์โมนเราแปรปรวนและส่งผลให้การผลิตเซราไมด์ลดลงตามไปด้วย
- ยีนส์พันธุกรรมก็มีส่วนที่ทำให้เรามีเซราไมด์น้อยกว่าที่เหมาะสม และทำให้ผิวเราแห้งง่ายกว่าผิวคนอื่นนั่นเอง
- ในผู้ที่เป็นโรคผิวหนังในบางกลุ่มจะพบว่าส่งผลให้เกิดการสูญเสียเซราไมด์ได้
แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบเซราไมด์
พบเซราไมด์ได้มากใน เส้นใยไฟเบอร์ของผักผลไม้ หัวบุก นมและข้าวที่ยังไม่ผ่านการขัดสี อย่างไรก็ตามเนื่องจากการรับประทานข้าวเพียงอย่างเดียวจะยังไม่ได้รับเซราไมด์ในปริมาณที่เพียงพอ จึงควรระวังในการรับประทานข้าวเกินปริมาณที่เหมาะสม เพราะถึงแม้ว่าอาจได้รับเซราไมด์ปริมาณเพิ่มขึ้นแต่ก็จะเสี่ยงต่อการได้รับพลังงานเกินส่งผลให้อ้วนได้เช่นกัน
ประเภทอาหารเสริมเซราไมด์
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเซราไมด์มักสกัดมาจากพืชผักผลไม้ มีจำหน่ายในตลาดหลายสูตร โดยส่วนมากมักจำหน่ายร่วมกับสูตรอาหารเสริมบำรุงผิวประเภทอื่น ที่สำคัญเช่น ไฮยาลูรอน วิตามินซี วิตามินอี คอลลาเจน อีลาสติน เป็นต้น
การรับประทานเซราไมด์เกินปริมาณ
จากการวิจัยศึกษายังไม่พบข้อเสียหรือผลข้างเคียงจากการรับประทานอาหารเสริมเซราไมด์ในปริมาณมากหรือต่อเนื่องในระยะยาว
เคล็ดลับเพิ่มเติม
- แม้ว่าเซราไมด์จะเป็นสารอาหารผิวในกลุ่มไขมัน แต่จะไม่ทำให้ผิวหน้ามัน เพราะการที่ผิวมันมีสาเหตุมาจากการทำงานของต่อมไขมันที่อยู่ลึกในบริเวณชั้นหนังแท้ ต่อมไขมันนี้จะทำหน้าที่ปล่อยไขมันออกมาเคลือบผิวหนังชั้นบนสุดไว้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้หน้ามันนั่นเอง แต่เซราไมด์จะเป็นไขมันชนิดที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ผิว ทำหน้าที่เป็นปราการเกราะป้องกัน รักษาความชุ่มชื้นของผิวและช่วยในการจัดเรียงตัวของสารเคราติน แต่จะไม่ส่งผลต่อความมันภายนอกของผิวนั่นเอง เราจึงไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องของความมัน
ผู้ใดควรรับประทานเซราไมด์เสริม
- ผู้ที่ผิวแห้ง ขาดน้ำ ดูไม่ชุ่มชื้น ผิวลอกบ่อยๆ
- ผู้ที่ผิวมีริ้วรอย ไม่กระชับเต่งตึง ต้องการป้องกันผิวจากริ้วรอย ชะลอวัยให้กับผิว
- ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพผิวพื้นฐาน ป้องกันสิ่งสกปรกเชื้อโรคต่างๆในบริเวณผิว
- ผู้ที่ต้องการลดริ้วรอยจุดด่างดำ
- ผู้ที่ต้องการบำรุงผิวให้ขาวขึ้น ปรับสีผิวให้สว่างขึ้น
- ผู้ที่เป็นโรคทางผิวหนัง เช่น โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน โรคติดเชื้อทางผิวหนังต่างๆ เป็นต้น
หมายเหตุ
- สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเซราไมด์เสริม
อาหารเสริมที่แนะนำรับประทานร่วมกันหรือมีคุณสมบัติคล้ายกัน
แนะนำรับประทานอาหารเสริมเซราไมด์ร่วมกับอาหารผิวอื่นๆ โดยเฉพาะ วิตามินอี ไฮยาลูรอน คอลลาเจน อีลาสติน ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะช่วยกระชับผิวให้ชุ่มชื้นเต่งตึง และเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกันได้อย่างดี
- คอลลาเจน (Collagen)
- ไฮยาลูรอน (Hyaluron)
- อีลาสติน (Elastin)
- วิตามินอี (Vitamin E)