ขมิ้นชัน
Turmeric Extract
ขมิ้นชันสกัด
DHC Turmeric
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน (Turmeric) คือ สมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารและบำรุงผิวพรรณ พบได้มากในอินเดียและไทยบางชนิด โดยเฉพาะอาหารประเภทแกงกะหรี่ ที่มีจุดเด่นที่การใช้ผงกะหรี่ที่มีสีเหลืองจัด
ในประเทศอินเดีย แพทย์อายุรเวชได้นำขมิ้นชั้นไปเป็นยาในการรักษาโรคหลายชนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โรคที่เห็นผลได้ชัดเจนเป็นพิเศษคือ โรคตับ โดยขมิ้นชึ้นจะทำหน้าที่ช่วยบำรุงรักษาและเพิ่มความแข็งแรงให้กับตับ เหมาะกับผู้ที่รับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นประจำ หรือผู้ที่ตับมีปัญหา รับประทานยาที่สกัดจากสารเคมีเยอะ แพทย์ได้มีการนำขมิ้นชันไปใช้ในการแก้ปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซี ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดี
สารสกัดจากขมิ้นชั้น มีประโยชน์สำคัญในด้านการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพสูง และยังช่วยลดอันตรายจากสารอนุมูลอิสระในสิ่งแวดล้อม สารพิษ บุหรี่ ที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและแก่กว่าวัย จึงช่วยชะลอวัย ชะลอความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆในร่างกายได้เป็นอย่างดี
ขมิ้นชันยังช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดและคอเลสเตอรอลสูง
ขมิ้นชันยังมีคุณสมบัติในการช่วยผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยช่วยลดอาการอักเสบของข้อ และลดอาการปวดข้อได้ในระดับเดียวกับการรับประทานยาแก้ปวดข้อประเภทฟีนิลบิวทาโซน และ เอ็นเซดเลยทีเดียว โดยที่มีข้อได้เปรียบตรงที่เมื่อรับประทานต่อเนื่อง จะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการรับประทานยา เพราะเป็นสารอาหารสกัดจากธรรมชาตินั่นเอง
คุณสมบัติอีกด้านหนึ่งของสารสกัดขมิ้นชันคือ ช่วยยับยั้งขัดขวางการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดยช่วยขัดขวางโปรตีนในกลุ่มที่อาจเข้าไปกระตุ้นให้เนื้องอกโตขึ้นนั่นเอง
ปริมาณขมิ้นชันสกัดที่แนะนำต่อวัน
โดยส่วนใหญ่ สูตรที่เหมาะสมคือรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัม
ประเภทอาหารเสริมขมิ้นชันสกัด
ปัจจุบันมีอาหารเสริมขมิ้นชันออกมาให้เรารับประทานได้หลายรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบรวมสารอาหารในสูตรบำรุงเฉพาะด้าน เช่น อาหารเสริมสูตรรวมเพื่อคนชอบดื่มเหล้าบำรุงตับ อาหารเสริมสูตรรวมสารอาหารบำรุงข้อต่อแก้ปัญหาข้ออักเสบ อาหารเสริมรวมสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น
โดยมากจะนิยมรวมโบรมีเลนเข้ากับสารสกัดขมิ้นชัน ซึ่งโบรมีเลนจะช่วยเสริมการดูดซึมขมิ้นชันไปใช้งาน และในโบรมีเลนยังมีฤทธิ์ในการต้านอักเสบอีกด้วย