อาหารเสริมคอนดรอยติน
Chondroitin Supplement
คอนดรอยติน
DHC Chondroitin
อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของคอนดรอยติน
ระคุระคุ สูตรรวมบำรุงข้อ
DHC Rakuraku
กลูโคซามีน รูปแบบเคี้ยว
DHC Glucosamine – Chewable
คอลลาเจนชนิดที่2
DHC Collagen Type II
อาหารเสริมที่แนะนำทานร่วมกันคอนดรอยติน
กลูโคซามีน
DHC Glucosamine
กลูโคซามีน รูปแบบเคี้ยว
DHC Glucosamine – Chewable
พาวเวอร์กลูโคซามีน
DHC Power Glucosamine
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอนดรอยติน
คอนดรอยติน (Chondroitin) คือสารที่อยู่ในส่วนของข้อต่อในร่างกาย โดยเฉพาะในบริเวณกระดูกอ่อน ทำหน้าที่ให้เราสามารถขยับข้อต่อได้อย่างเป็นปกติ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น ข้อต่อและกระดูกอ่อนบริเวณข้อเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จึงส่งผลให้เราเกิดอาการปวดข้อ ปวดเข่า ได้ง่ายขึ้น การเสริมด้วยคอนดรอนตินจึงจำเป็น โดยจะเข้าไปทำหน้าที่เสริมสร้างกระดูกอ่อนให้กลับมาแข็งแรงขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวสะดวกข้อต่างๆของร่างกายสะดวกขึ้นนั่นเอง คอนดรอยตินยังทำหน้าที่ดูดน้ำไปหล่อเลี้ยงให้กระดูกของเราไม่ฝืด เมื่อคอนดรอยตินในร่างกายมีปริมาณน้อยเกินไปจะทำให้กระดูกของเราแห้ง ส่งผลให้เกิดการกระทบ การแตกเปราะ อาการปวดข้อ ปัญหากระดูกพรุน และโรคข้ออักเสบต่างๆได้ง่ายขึ้น
ปริมาณคอนดรอยตินที่แนะนำต่อวัน
โดยทั่วไปแนะนำรับประทานคอนดรอยตินในปริมาณ 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ในกลุ่มปัญหาสุขภาพเฉพาะด้านแนะนำรับประทานคอนดรอยตินในปริมาณที่ต่างกันดังนี้
- ผู้ที่มีปัญหาข้อเสื่อม ปวดข้อเข่า ข้ออักเสบ แนะนำรับประทาน 600-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
- ในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก กระดูกพรุน กระดูกเปราะ แนะนำรับประทานประมาณ 600 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แนะนำรับประทาน 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ที่ต้องการลดผื่นสะเก็ดเงิน แนะนำรับประทาน 400-800 มิลลิกรัมต่อวัน
ประโยชน์ของคอนดรอยติน
- คอนดรอยตินนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแแพทย์ สำหรับบำรุงข้อ โดยทำหน้าที่เป็นโภชนาการบำบัดเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาปวดข้อ ปวดเข่า ข้อเสื่อม ข้ออักเสบหรือโรคกระดูกพรุน นำสารอาหารเข้าไปซ่อมแซมข้อต่อ เส้นเอ็นและกระดูกอ่อนให้กลับมาฟื้นฟูทำงานได้ดีอีกครั้ง
- ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคไขมันในเลือดสูงคอเลสเตอรอลสูง
- ช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย และโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
- ช่วยฟื้นฟูโรคทางสายตาบางชนิด เช่น โรคต้อ อาการตาแห้ง แสบตา เป็นต้น
- บรรเทาผื่นในผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง
โรคและอาการขาดคอนดรอยติน
- เมื่อร่างกายเรามีคอนดรอยตินไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ข้อแห้ง ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูกต่างๆได้ง่ายขึ้น
แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบคอนดรอยติน
คอนดรอยตินพบได้มากในสัตว์ โดยเฉพาะในกระดูกปลาฉลามและในกระดูกอ่อนของวัว อาหารทะเล เป็นต้น
ประเภทอาหารเสริมคอนดรอยติน
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอนดรอยตินมักมีทั้งในสูตรเดี่ยวและสูตรรวมกับสารอาหารอื่น โดยเฉพาะสารอาหารในกลุ่มบำรุงข้อที่เสริมประสิทธิภาพกัน เช่น กลูโคซามีน (Glucosamin) เอ็มเอสเอ็ม(MSM) แคลเซียม (Calcium) เป็นต้น
การรับประทานคอนดรอยตินเกินปริมาณ
จากการวิจัยยังไม่ค้นพบผลเสียหรือผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการรับประทานคอนดรอยตินเกินปริมาณ หรือต่อเนื่องในเวลานาน
เคล็ดลับเพิ่มเติม
- ในผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก นิยมรับประทานอาหารเสริมในสูตรของธาตุเหล็กร่วมกับคอนดรอยติน
ผู้ใดควรรับประทานเสริมคอนดรอยติน
- ผู้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า และโรคเกี่ยวกับข้อเสื่อมต่างๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ผู้ที่มีปัญหาหรือความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะง่าย
- ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง
- ผู้ที่มีปัญหาสายตาเสื่อม โรคตาต้อ อาการแสบตา ตาแห้ง
- ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน
หมายเหตุ
- ผู้ที่แพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ควรระวังการแพ้อาหาร
- ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้และโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานบกพร่องอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสริมด้วยคอนดรอยติน
- เด็กและสตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อเสริมคอนดรอยติน