อาหารเสริมแคลเซียม

Calcium Supplement

บำรุงกระดูกและฟัน

บำรุงด้วยแคลเซียม ก่อนที่จะสายเกินไป

แคลเซียมเป็นสารอาหารหลักที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้นกระดูกก็มีโอกาสเสื่อมลงเรื่อยๆ และเมื่อรู้ตัวอีกทีเราอาจจะเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกเสื่อมไปเสียแล้ว และยิ่งในเด็กที่ขาดแคลเซียมมาตั้งแต่เล็กๆ ก็ย่อมส่งผลถึงการเจริญเติบโต การเพิ่มส่วนสูงที่ช้าลง และการยืดตัวโดยขาดแคลเซียมจะยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคตมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

แคลเซียม+CBP

DHC Calcium CBP

รสนมสำหรับเด็ก

 

แคลเซียมปะการัง

DHC Calcium Coral

รสสับปะรด

 

แคลเซียม+แมกนีเซียม

DHC Calcium Magnesium

อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับผู้ใหญ่

 

อาหารทั่วไปในปัจจุบันให้แคลเซียมเราได้ไม่เพียงพอ

คนส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อวัน

ในหนึ่งวันคนเราควรได้รับแคลเซียมปริมาณ 600-800 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับการดื่มนมคุณภาพสูงอย่างน้อย 1.2 ลิตรทุกๆวัน การที่เราจะต้องดื่มนมต่อเนื่องในปริมาณมากเช่นนี้ทุกๆวันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยากในหลายๆคน เราจึงขอแนะนำอาหารเสริมที่รับประทานได้ง่ายมาเพื่อเติมเต็มแคลเซียมที่เราต้องการต่อวัน และหากเป็นสูตรที่เสริมแมกนีเซียมหรือซีบีพี ก็จะยิ่งช่วยให้ดูดซึมและนำไปสร้างมวลกระดูกได้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย

เคล็ดลับพิเศษ การบำรุงแคลเซียมเสริมร่วมกับ CBP

สารอาหารเสริมการบำรุงแคลเซียมที่เราแนะนำเป็นพิเศษ CBP ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูก เป็นสารเสริมประสิทธิภาพที่ดีในการทานร่วมกับแคลเซียม จะช่วยเสริมการบำรุงกระดูกให้ดียิ่งขึ้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุหลักที่สำคัญสำหรับร่างกาย เป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและฟัน เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในร่างกายมากกว่าแร่ธาตุชนิดอื่นๆ

 

จากผลสถิติ พบว่าแร่ธาตุที่คนเราขาดมากที่สุดในปัจจุบันคือ แคลเซียม และธาตุเหล็ก

 

แคลเซียมที่อยู่ในกระดูกของเราเซลล์กระดูกของเรามากกว่าหนึ่งในห้าจะถูกย่อยสลายไป และถูกสร้างขึ้นมาใหม่ทุกๆปี และเซลล์เก่าจะถูกทำลายทิ้งไป ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมจากภายนอกมาทดแทนอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดปัญหากระดูกเปราะบาง โรคกระดูกพรุน และฟันไม่แข็งแรงได้

 

การที่ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมมาใช้ได้ จำเป็นต้องมีวิตามินดีที่เพียงพอ

 

แคลเซียมและฟอสฟอรัสจะเสริมการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงให้ดีขึ้นเมื่อรับประทานร่วมกัน ในอัตราส่วนแคลเซียมสองส่วนต่อฟอสฟอรัสหนึ่งส่วน

 

แคลเซียมและแมกนีเซียมจะทำงานร่วมกันในคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงหัวใจและเส้นเลือด

 

 

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวัน

 

ปริมาณแคลเซียมที่ควรรับประทานต่อวันคือ 1,200-1,500 มิลลิกรัม  และสำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี และผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ปี ในแต่ละวันควรได้รับแคลเซียมเสริมอย่างน้อย 1,500 มิลลิกรัม

 

 

ประโยชน์ของแคลเซียม

 

  • บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง แคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักในการเสริมสร้างมวลกระดูก
  • บำรุงการเจริญเติบโตในเด็ก ช่วยสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงเพื่อให้พร้อมสำหรับการยืดตัว ลดการปวดกระดูกในช่วงวัยเจริญเติบโต
  • ป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากระดูกเสื่อม และปัญหากระดูกเปราะ หักง่าย
  • ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • แคลเซียมมีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจ ปรับสมดุลให้จังหวะการเต้นของหัวใจทำงานได้เป็นปกติดีขึ้น
  • บำรุงระบบประสาท ช่วยในการส่งสัญญาณประสาท
  • ช่วยควบคุมสมดุลน้ำหนัก
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญธาตุเหล็กในร่างกาย
  • ช่วยแก้ปัญหาโรคนอนไม่หลับ อาการหลับยาก หลับไม่สนิท

 

 

โรคและอาการขาดแคลเซียม

 

  • โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะหักง่ายในผู้สูงวัย
  • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก
  • โรคกระดูกน่วม
  • ฟันไม่แข็งแรง ฟันแตกหักง่าย

 

แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบแคลเซียม

 

แคลเซียมพบได้มากในอาหารประเภทนมทุกชนิด เช่น นมสด เต้าหู้ ถั่วเหลือง ชีว ปลากรอบ ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ผักใบเขียวบางชนิด เช่น บรอกโคลี กะหล่ำใบเขียว อาหารประเภทถั่ว เช่น ถั่วแห้ง วอลนัท ถั่วลิสง และเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

 

ประเภทอาหารเสริมแคลเซียม

 

ในปัจจุบันแคลเซียมมักจำหน่ายในรูปแบบเม็ดปริมาณ 250 – 500 มิลลิกรัม

 

แคลเซียมรูปแบบที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ แคลเซียมซิเทรต, แคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต และ ไฮดรอกซีอะพาไทต์ โดยชนิดที่ให้ปริมาณแคลเซียมต่อเม็ดสูงสุดคือแคลเซียมซิเทรต

 

แคลเซียมที่นิยมกันรูปแบบหนึ่งคือแคลเซียมซิเทรต โดยจะมีจำหน่ายทั้งในรูปแบบเม็ดเคี้ยวได้ในรสชาติต่างๆ และรูปแบบเม็ดละลายน้ำชงดื่มที่มีรสอร่อยอีกด้วย

 

 

การรับประทานเกินปริมาณ

 

ในผู้ที่รับประทานแคลเซียมมากกว่า 2,500 มิลลิกรัมต่อวันอาจส่งผลให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเกิน การรับประทานเกินปริมาณติดต่อกันในระยะเวลายาวนาน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไต และติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ อีกทั้งอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้อีกด้วย

 

ในผู้ที่รับประทานแคลเซียมสูงเกินปริมาณอย่างต่อเนื่อง และพบว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ การดื่มน้ำผลไม้แครนเบอร์รี่บำรุงจะมีสารป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียมาเกาะเซลล์ผนังในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้

 

เคล็ดลับเพิ่มเติม

 

  • แคลเซียมทำงานร่วมกันได้ดีกับสารอาหารประเภท ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม วิตามินซี วิตามินดี และวิตามินเอ รวมถึงฟอสฟอรัสในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งในกรณีของแร่ธาตุฟอสฟอรัส หากได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมได้
  • แคลเซียมจะดูดซึมไปใช้งานได้ดีที่สุดเมื่อรับประทานในช่วงเวลาหลังมื้ออาหาร และช่วงก่อนนอน
  • การรับประทานแคลเซียมในช่วงก่อนเข้านอนจะช่วยทำให้เราหลับง่ายหลับสนิทขึ้น
  • การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม ควรแบ่งช่วงเวลาการรับประทานออกเป็นหลายๆมื้อ เพราะร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้มากกว่า 500 มิลลิกรัมภายในมื้อเดียว การแบ่งช่วงเวลาทานออกเป็นมื้อย่อยๆจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้นตลอดทั้งวัน
  • ในผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปีควรเลือกรับประทานแคลเซียมเสริมชนิดแคลเซียมซิเทรตและแคลเซียมไฮดร็อกซีอะพาไทต์
  • ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินรวม และเกลือแร่รวมแร่ธาตุ ที่มีคุณภาพดีมักจะมีส่วนประกอบของแคลเซียมอยู่ด้วย
  • บริเวณส่วนปลายกระดูกอ่อนของสัตว์ปีกต่างๆ เช่น ไก่ จะมีแคลเซียมสูง เราสามารถเสริมแคลเซียมโดยการเคี้ยวกระดูกไก่เล่นได้
  • ผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ามาตราฐาน จะส่งผลกระทบให้ร่างกายมีความต้องการแคลเซียมในปริมาณมากขึ้น

 

 

ผู้ใดควรรับประทานแคลเซียมเสริม

 

  • เด็กในวัยเจริญเติบโต มีความต้องการแคลเซียมสูงเพื่อนำไปใช้ยืดความสูง โดยใช้สร้างมวลกระดูกในกระบวนการเพิ่มความสูง และเด็กที่มีอาการปวดกระดูกในช่วงการยืดตัว การเสริมแคลเซียมจะช่วยลดอาการเจ็บกระดูกได้
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง แนะนำรับประทานแคลเซียมเสริมจะมีส่วนช่วยให้ดีขึ้นได้
  • ผู้ที่ปวดประจำเดือนเป็นประจำ การรับประทานแคลเซียมเสริมจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้
  • ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีความเสี่ยงต้องการป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน ในอนาคต โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่กระดูกบาง กระดูกเปราะหักง่าย เนื่องจากขาดแคลเซียม
  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมัน การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมต่อเนื่องในระยะยาว มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันเมื่อเรารับประทานอาหารได้
  • ผู้ที่ชอบดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ จะส่งผลเสียต่อการสร้างมวลกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากในน้ำอัดลมมีส่วนประกอบของกรดฟอสฟอริกในปริมาณสูง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมมากขึ้น หากไม่ได้รับแคลเซียมเสริมที่เพียงพอจะส่งผลให้เกิดปัญหากระดูกพรุน กระดูกบาง ฟันเปราะหักง่าย
  • ในผู้ที่ต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องนอนนิ่งบนเตียงติดต่อกันมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ จะทำให้มวลกระดูกบางลง สูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อม เปราะง่าย จึงควรรับประทานแคลเซียมเสริมเป็นพิเศษ

 

หมายเหตุ

 

  • ผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะบางประเภท เช่น ยาเตตราไซคลีน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม เนื่องจากอาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของยาลดลงได้
  • ในผู้ที่เลือกรับประทานแคลเซียมที่มีคุณภาพต่ำที่มีการแตกตัวไม่ดี ควรระวังว่าอาจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะมีความเสี่ยงที่จำทำให้เกิดอาการข้อตึงและผนังเส้นเลือดแข็งตัวได้ จึงควรเลือกรับประทานแคลเซียมคุณภาพสูงที่มีการแตกตัวที่ดี

 

รถเข็น

วิตามินวิลล่า

ชนิดอาหารเสริม

แบ่งตามเพศและวัย

แบ่งตามเพศและวัย

แบ่งตามปัญหาสุขภาพ

แบ่งตามสารอาหารหลัก

Share This